รายการแข่งขันที่สําคัญระดับโลกและนานาชาติ

รายการแข่งขันที่สําคัญระดับโลกและนานาชาติ

1. การแข่งขันออลอิงแลนด์ (All England Championships) เป็นรายการแข่งขันแบดมินตัน ประจําปีระดับโลกที่เก่าแก่ที่สุดของวงการแบดมินตัน โดยจัดที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประมาณ เดือนมีนาคมของทุกปี นับตั้งแต่ 1899 ระยะเริ่มต้นนักแบดมินตันชาวไอริชจะครองแชมป์เป็นส่วนใหญ่

แต่ต่อมานักแบดมินตันเดนมาร์กเริ่มเข้ามาแย่งตําแหน่งบ้าง แต่ที่ครองตําแหน่งไว้ได้ยาวนานในระยะ ต่อมาเป็นนักแบดมินตันอินโดนีเซีย โดย รูดี้ ฮาร์โตโน่และเลียม สวีคิง ออลอิงแลนด์เป็นรายการแข่งขัน ประเภทบุคคลที่นับว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในแต่ละรอบปี

2. การแข่งขัน โธมัสคัพ (Thornnas cup) เซอร์ จอร์จ โธมัส ซึ่งเป็นประธานสห แบดมินตันนานาชาติคนแรกได้บริจาคถ้วยเพื่อเป็นรางวัลในการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติประเภท ทีมชาย โดยดําริจะจัดขึ้นในปี 1936 แต่เกิดภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันจึงเลื่อนไปและมาจัดการแข่งขันได้

ในปี 1948 1949 การแข่งขันโธมัสคัพถือเป็นรายการแข่งขันระดับโลกในประเภท ทีมชาย โดยในระยะแรกแข่งขันกัน 9 คู่ จนกระทั่งปี 1984 จึงลดลงเหลือเพียง 5 คู่ การจัดการแข่งขันจะดําเนินการ

โดยแบ่งเป็นโซนตามภูมิภาคของกลุ่มประเทและจัดแข่งขันทุกๆ 2 ปี ผลการแข่งขัน นับแต่ปี 1948 จนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่า 3 ครั้งแรก มาเลเซียชนะเลิศติดต่อกัน ต่อจากนั้น อินโดนีเซีย ชนะเลิศตลอดจนกระทั่งปี 1981 จีนจึงเข้ามาช่วงชิงตําแหน่งชนะเลิศไปครอง

3. การแข่งขัน อูเบอร์คัพ (Uber Cup) มิสซิส เอช เอส อูเบอร์ (Mrs. H. S. Uber) ซึ่งเป็น อดีตนักกีฬาทีมชาติชั้นเยี่ยมของอังกฤษได้บริจาคถ้วยเพื่อเป็นรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศในการแข่งขัน แบดมินตันนานาชาติประเภทหญิง

โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1957 การดําเนินการแข่งขันใช้วิธีการแบบโธมัสคัพ คือแบ่งการแข่งขันรอบคัดเลือกเป็นโซน โดยจัดทุก 2 ปี ด้วยการสลับปีกับโธมัสคัพ ในระยะแรกใช้ระบบ 7 คู่ ต่อมาในปี 1984 จึงลดเหลือเพียง 5 คู่ ระยะ 3 ครั้งแรก ทีมสหรัฐอเมริกา ชนะเลิศตลอด ต่อมาเป็นทีมจากญี่ปุ่น จนกระทั่ง 1984 ทีมจีนจึงชนะเลิศติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน

4. การแข่งขันชิงชนะเลิศโลก (World Championships) ชนะเลิศโลกประเภทบุคคล ซึ่งจัดเป็นประจําทุก 2 ปี โดยกําหนดปีคริสต์ศักราชที่เป็นเลขคี (ค.ศ.เป็นการแข่งขันแบดมินตันชิง ที่ลงท้ายด้วย 1 3 5 7 9) เป็นปีทําการแข่งขัน และมอบหมายให้ประเทศต่างๆ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ รอบชิงชนะเลิศ โดยเริ่มตั้งแต่ ปี 1977 เป็นต้นมา

5. การแข่งขันชิงถ้วยสุธีรมาน (Sudirman Cup) เป็นรายการแข่งขันชิงชนะเลิศโลก ทีมผสมประกอบด้วยชายหญิง 5 คู่ คือ ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่และคู่ผสม การแข่งขันจะดําเนินการคัดเลือกเป็นกลุ่มในแต่ละกลุ่มให้จัดการแข่งขันแบบพบกันหมดแล้วคัดผู้ชนะและรองผู้ชนะ เลื่อนระดับมือขึ้นไปยังกลุ่มที่สูงกว่า ส่วนทีมที่แพ้ก็จะลดระดับลงไปยังกลุ่มต่ํากว่า

แข่งขันในรอบสุดท้าย จะจัดขึ้นเพื่อชิงชนะเลิศในกลุ่มที่ 1 รายการแข่งขันด้วยสุธีร์มานจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยสลับปีกับการแข่งขัน เวิร์ลแชมเปี้ยนชิพ เริ่มตั้งแต่ ปี 1989 เป็นต้นมา เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. ดิค สุธีร์มาน ผู้ล่วงลับไปแล้ว ท่านเป็นบิดาของวงการแบดมินตันแห่งอินโดนีเซีย และเคยเป็นรองประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ

6. รายการกรังปรีซ์เซอร์กิตโลก (World Grand Prix Circuit) เป็นรายการแข่งขันที่สะสมคะแนน สําหรับนักกีฬาโดยสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติจะมอบหมายให้ประเทศต่างๆ จัดการแข่งขันประเทศสมาชิกทุกประเทศสามารถส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้ เช่น การแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่น

การแข่งขัน โกเรียนโอเพ่น การแข่งขันมาเลเชี่ยน โอเพ่น การแข่งขันเยอรมันโอเพ่น เป็นต้น กําหนด การแข่งขันรายการกรังปรีซ์เซอร์กิตโลก สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติจะเป็นผู้ควบคุมปฏิทินการแข่งขันเพื่อไม่ให้จัดซ้อนในเวลาเดียวกัน

และกําหนดระดับของการแข่งขันเป็น ดาว (Star) ตามจํานวนเงินรางวัลที่ให้นักกีฬา เช่น ไทยแลนด์โอเพ่นมีเงินรางวัลรวม 125,000 ดอลล่าร์สหรัฐถูกจัดเป็นการแข่งขัน ระดับ 5 ดาว เป็นต้น คะแนนสะสมกําหนดจากผลการแข่งขัน ระดับของการแข่งขัน และจํานวนผู้แข่งขัน ในรายการต่าง ๆ รวมทั้งรายการแข่งขันประเภททีม

#แบดมินตัน #รายการแข่งขันที่สําคัญระดับโลกและนานาชาติ #ฝากเงินขั้นต่ำ100บาท

Leave a Reply