แบดมินตันแม้จะมีนักกีฬาของไทยที่มีชื่อในระดับโลก
มีการเรียนการสอนในชั้นเรียน มีสโมสร แบดมินตันมากมาย แต่การเรียนการสอน การฝึกสอนไม่ได้มีระบบที่เด่นชัด ลักษณะต่างคนต่างทํา
ผู้ฝึกสอนส่วนใหญ่นําการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เคยเล่นหรือเคยฝึกมาเป็นแนวการฝึกสอนของตน ทําให้กีฬาแบดมินตันไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ปัญหาสําคัญที่สุดคือการฝึกทักษะพื้นฐานที่ขาดมาตรฐาน ทําให้ยากต่อการพัฒนาสู่ระดับสูง
ครูพลศึกษาที่สอนอยู่ในโรงเรียนซึ่งเป็นความหวังสําคัญก็ไม่มีพื้นฐานที่ดี
ทั้งนี้เนื่องในขณะเรียนในสถาบันที่ผลิตครูพลศึกษาก็ไม่มีอาจารย์ที่มีทักษะด้านแบดมินตันเพียงพอ ในปี พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ์ พันธวิศวาส รองศาสตราจารย์ คร. นภพร ทัศนัยนา และนายชัยศักดิ์ ทองเดชศรีได้ร่วมกันจัดหลักสูตรผู้ฝึกสอนแบดมินตัน
โดยได้รับการสนับสนุนจาก คร. เพียรศักดิ์ ซอโสตถิกุล นายกสมาคมแบดมินตัน ขณะนั้นให้การสนับสนุนนับแต่นั้นมาการอบรมดังกล่าวได้จัดต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนเมษายนของทุกปี
ปัจจุบันมีผู้ผ่านการอ – บรมมากกว่า 600 คนและได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรมผู้ฝึกสอนแบดมินตันขึ้น ในปี 2533 ชมรมนี้ได้ผลิตวารสารผู้ฝึกสอน จัดโครงการแบดมินตันคลินิกสัญจร
โครงการค่ายแบดมินตันสุดสัปดาห์ จัดแนะนําการสอนแบดมินตันที่ถูกวิธี จัดทําสื่อการสอนและที่สําคัญคือการวางมาตรฐานและวิธีการฝึกให้อยู่ ในแนวเดียวกัน ทําให้นักกีฬาสามารถพัฒนาในระดับสูงได้โดยง่าย
#แบดมินตัน #ชมรมแบดมินตันไทย #ฝากเงินขั้นต่ำ50บาท